รัฐสวัสดิการ 2

สำหรับนโยบายสาธารณะอย่าง รัฐสวัสดิการ ที่มีแนวคิดในการจัดสรรสวัสดิการให้แก่ประชาชนนั้น หากเราย้อนดูเรื่องราวในอดีตจะพบว่ามีปัจจัยที่น่าสนใจมากมายทางประวัติศาสตร์ ทั้งเรื่องการเกิดขึ้นของปฏิวัติอุตสาหกรรม สงครามโลก การลุกขึ้นสู้ของแรงงาน ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำหรือแนวความคิดจากนักวิชาการในยุคสมัยต่างๆ

รัฐสวัสดิการ คืออะไร?

ก่อนจะเล่าถึงเรื่องราวในอดีต ขอแนะนำให้ทุกคนรู้จักความหมายของรัฐสวัสดิการ จากคำนิยามของ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ให้นิยามไว้ว่า “การที่รัฐจัดหาสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นให้ประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสด้านต่าง ๆ โดยใช้เงินจากภาษีที่เก็บจากประชาชนเป็นหลัก” หากสรุปง่ายๆ รัฐสวัสดิการคือรัฐที่ประชาชนจ่ายภาษีสูงเพื่อแลกกับการจัดสรรสวัสดิการที่ดูแลประชาชนทั้งชีวิต ทั้งเงินเลี้ยงดูบุตร ค่าเล่าเรียน ค่ารักษา เงินบำนาญ ฯลฯ

เมื่อกล่าวถึงรัฐสวัสดิการ ผู้คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงรัฐสวัสดิการของประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่จัดสรรให้ประชาชนทุกคน แต่ความเป็นจริงแล้วรัฐสวัสดิการนั้นมีหลายรูปแบบ โดย กุสตา เอสปิง แอน-เดอร์สัน (Gøsta Esping-Andersen) นักวิชาการชาวเดนมาร์ก ผู้เขียนหนังสือ ‘โลกสามใบของทุนนิยมสวัสดิการ’ (The Three Worlds of Welfare Capitalism) ได้ทำการศึกษานโยบายรัฐสวัสดิการของประเทศต่างๆ ในโลกตะวันตกเพื่อที่จะค้นหาปัจจัยที่ทำให้เกิดรัฐสวัสดิการในรูปแบบที่แตกต่างกัน

ตัวชี้วัดหลักที่กุสตา เอสปิง แอน-เดอร์สัน ใช้ คือระดับการทำให้ไม่เป็นสินค้าของประชาชน (de-commodification) หมายถึง การที่ประชาชนเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพิงระบบตลาดในระบบทุนนิยม ไม่ต้องขายแรงงานของตัวเองเพื่อนำเงินมาซื้อสวัสดิการ ยกตัวอย่าง ในประเทศที่ประชาชนได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากรัฐแบบถ้วนหน้า นับว่าเป็นประเทศที่มีระดับ de-commodification สูง ในทางตรงกันข้าม ประเทศที่ประชาชนต้องทำงานและหาเงินมาซื้อประกันจากเอกชนเพื่อจะได้รับสิทธิค่ารักษา ถือว่ามีระดับ de-commodification ต่ำ เพราะประชาชนต้องพึ่งพาระบบตลาดในการรับสวัสดิการ

การศึกษาดังกล่าว ทำให้สามารถแบ่งประเภทขอรัฐสวัสดิการได้สามแบบ ดังนี้

  1. เสรีนิยม (Liberal) ใช้กลไกการตลาดทำหน้าที่จัดสรรสวัสดิการ โดยรัฐจัดสรรให้แค่สวัสดิการพื้นฐานเท่านั้น ไม่ได้จัดสรรให้ทุกคนอย่างทั่วถึง หากรอยากได้สวัสดิการเพิ่มขึ้นก็ต้องซื้อประกันของเอกชน ประเทศที่ใช้ระบบนี้คือ สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทยในปัจจุบัน (มี de-commodification ในระดับต่ำ)
  2. อนุรักษ์นิยม (Conservative) ใช้อาชีพของบุคคลเป็นตัวกำหนดในการจัดสรรสวัสดิการ โดยเงินที่ใช้จะมาจากเงินสมทบของประชาชนในกลุ่มอาชีพต่างๆ เช่น การเป็นสมาชิกในสมาคมวิชาชีพของกลุ่มข้าราชการ แพทย์ นักบัญชี ฯลฯ โดยยิ่งจ่ายเงินสมทบสูงก็ได้รับสวัสดิการสูง ส่วนอาชีพอื่นที่ไม่ได้สังกัดสมาคมวิชาชีพก็จะไม่ได้รับสวัสดิการ ประเทศที่ใช้ระบบนี้คือ เยอรมนี อิตาลี สเปน และฝรั่งเศส (มี de-commodification ในระดับกลาง)
  3. สังคมนิยมประชาธิปไตย (Social Democratic) รัฐทำหน้าที่จัดสรรสวัสดิการให้ประชาชนทุกคนแบบถ้วนหน้า โดยจัดสรรให้ประชาชนทุกคนเท่ากันโดยไม่มีเงื่อนไข แตกต่างกับแบบเสรีนิยมและอนุรักษ์นิยมที่มีการกำหนดเงื่อนไขในการรับสิทธิ แต่รูปแบบนี้ต้องแลกกับการที่ประชาชนเสียภาษีในอัตราที่สูง ประเทศที่ใช้ระบบนี้คือ กลุ่มประเทศนอร์ดิก (ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน) (มี de-commodification ในระดับสูง)

การแบ่งประเภทของรัฐสวัสดิการจะทำให้เราเข้าใจรูปแบบความหลากหลายของรัฐสวัสดิการในโลกตะวันตกมากขึ้น เข้าใจระดับความเข้มข้นของการจัดสรรสวัสดิการให้ประชาชนที่รัฐบาลแต่ละประเทศเลือกใช้ และทำให้ประเทศอื่นๆ สามารถศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสีย และนำมาวางปรับใช้ในการจัดรัฐสวัสดิการให้ประชาชนต่อไป

เมื่อรู้จักกับความหมายของรัฐสวัสดิการแล้ว เราขอย้อนอดีตไปค้นหาที่มาของแนวคิดนี้กันที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ 400 ปีที่แล้ว

กฎหมายคนจน ดูแลคนยากไร้ แต่ไม่ทั่วถึง จึงกำเนิด รัฐสวัสดิการ

สำหรับเรื่องรัฐสวัสดิการนั้น หากย้อนไปในอดีตนั้นมีจุดเริ่มต้นจากแนวคิดสังคมสงเคราะห์ที่มาจากความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และแนวคิดเรื่องศาสนาที่มีคำสอนให้ช่วยเหลือคนที่ขาดโอกาสในชีวิต การช่วยเหลือในช่วงแรกจึงเป็นการบริจาคอาหาร เสื้อผ้าให้แก่คนยากจน คนไร้บ้าน

จากแนวคิดเรื่องสังคมสงเคราะห์ได้นำมาสู่การออกกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม โดยในปี 1601 ประเทศอังกฤษมีการออกกฎหมายสำหรับคนจน (the Elizabethan Poor Law) ซึ่งนอกจากต้องการช่วยเหลือคนจนแล้ว ยังต้องการจัดระเบียบสังคมไม่ให้เกิดปัญหาที่มาจากความยากจน คนเร่ร่อน เช่น ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเรื่องโรคติดต่อ ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่อาจมาจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนจน ด้วยเหตุนี้ทำให้รัฐบาลออกกฎหมายเพื่อช่วยเหลือบุคคล 3 ประเภท ได้แก่ 1.คนที่มีร่างกายแข็งแรงทำงานได้ ให้ส่งกลับบ้านเกิดและหางานให้ทำ ถ้าปฏิเสธการทำงานก็จะถูกลงโทษ 2.คนที่ยากจนที่ไม่สามารถทำงานได้ จะถูกส่งไปโรงทาน และ 3.เด็กกำพร้าไม่มีคนเลี้ยงดู จะถูกนำไปอยู่โรงทานเช่นกัน

ต่อมาในปี 1803  ที่เดนมาร์กได้ออกกฎหมายสำหรับคนจนเช่นกัน มีการจัดตั้งกองทุนส่วนกลางเพื่อนำเงินมาช่วยเหลือคนจน โดยจำกัดสิทธิไว้สำหรับคนจนที่สมควรแก่การช่วยเหลือเพียงเท่านั้น

จะเห็นว่าแม้การออกกฎหมายคนจนจะมีจุดประสงค์เพื่อกำจัดความยากจน แต่การช่วยเหลือก็ถูกจำกัดสิทธิไว้เฉพาะคนบางกลุ่มเท่านั้น มีเสียงวิจารณ์ว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถทำให้ทุกคนเท่าเทียม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนลงได้

ในเวลาต่อมา เวลาก็พิสูจน์ให้เห็นว่า กฎหมายคนจนไม่สามารถรับมือปัญหาได้จริง เมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์

รัฐสวัสดิการ 1

ปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อแรงงานปะทะนายทุน

ในช่วงปี 1760 -1830 ที่ประเทศอังกฤษ มนุษย์เริ่มคิดค้นนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตสินค้า เช่น เครื่องปั่นด้ายที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เครื่องจักรไอน้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ส่งผลให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากภายในระยะเวลารวดเร็ว การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ในยุคสมัยดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานของมนุษย์ไปอย่างสิ้นเชิง

เมื่ออุตสาหกรรมเริ่มขยายตัว ระบบการทำงานของมนุษย์ก็เปลี่ยนไป เกิดวัฒนธรรมการทำงานใหม่ของมนุษย์ เริ่มมีการกำหนดเวลาเข้า-ออกทำงานที่ชัดเจน เหล่าแรงงานที่เคยทำงานในภาคเกษตรกรรมในชนบทต่างย้ายเข้ามาทำงานเขตเมืองตามโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ถูกกำหนดกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดจากนายทุน

การทำงานภายใต้กฎระเบียบของนายจ้าง ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาอีกมากมาย แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้างบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเกินมาตรฐานของมนุษย์ (มากกว่า 10 ชั่วโมงต่อวัน) การได้รับค่าจ้างที่ต่ำ เพราะนายจ้างอยากได้กำไรมากขึ้น การต้องทนทำงานในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงการใช้แรงงานเด็กและคนชรา

ปัญหาเหล่านี้ทำให้แรงงานทั้งหลายตื่นตัวออกมาเรียกร้องต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมตามแนวคิดของสังคมนิยมที่ต้องการให้ผู้คนในสังคมมีความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ำ เช่น การรวมกลุ่มกันก่อตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับนายจ้าง การหยุดงานประท้วง ฯลฯ การลุกขึ้นสู้กับความอยุติธรรมของกลุ่มแรงงาน ทำให้นายจ้างบางแห่งต้องยอมขึ้นค่าแรงและลดชั่วโมงการทำงานให้น้อยลง

การไม่ยอมจำนนของกลุ่มแรงงานในยุโรปไม่ได้เกิดผลเฉพาะแค่เรื่องการต่อรองค่าจ้างในที่ทำงานเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงระบบการจัดสรรสวัสดิการของโลกในเวลาต่อมา

เกิดประกันสังคม เพราะกลัวการต่อต้าน

การปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ระบบสังคมสงเคราะห์และกฎหมายคนจนแบบเก่าไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้อีกต่อไป เพราะทำให้เกิดปัญหาที่ซับซ้อนขึ้นทั้งเรื่องค่าแรงและความไม่เป็นธรรมในการจ้างงาน การจะจัดกลุ่มว่าคนจนกลุ่มไหนควรได้รับสิทธิก็ทำได้ยากขึ้น มนุษย์จึงเริ่มคิดค้นระบบประกันสังคม (Social Insurance) ขึ้นมาเพื่อช่วยดูแลคุณภาพชีวิตของแรงงานให้ดีขึ้น โดยใช้การร่วมทุกข์ร่วมสุข ให้แรงงานสมัครเป็นสมาชิกในระบบหรือเรียกว่า ‘ผู้ประกันตน’ หากจะรับสิทธิประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ซึ่งมีรัฐบาลและนายจ้างช่วยกันจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติม เพื่อนำเงินมาจัดสรรสวัสดิการในตอนที่ชีวิตเดือดร้อน เช่น ตกงาน เจ็บป่วย เสียชีวิต ฯลฯ

ระบบประกันสังคมเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเยอรมนี (ปรัสเซียในขณะนั้น) ในปี 1883 โดยนายกรัฐมนตรี ออตโต ฟอน บิสมาร์ค (Otto von Bismarck) ที่ออกกฎหมายต่อต้านสังคมนิยมขึ้นมา เพื่อต้องการลดกระแสการเรียกร้องของแรงงานและต่อต้านอุดมการณ์สังคมนิยมที่ต้องการให้เกิดสังคมที่เท่าเทียมขึ้นในขณะนั้น แม้จุดประสงค์ในการก่อตั้งจะมาจากฝั่งอนุรักษ์นิยมเพื่อรักษาอำนาจเอาไว้ แต่ระบบนี้ก็สร้างประโยชน์ให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและหลายประเทศก็นำระบบประกันสังคมไปปรับใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น ฯลฯ

จากจุดเริ่มต้นของประกันสังคมที่ต้องการลดการต่อต้านของแรงงาน กลับกลายเป็นผลตรงข้าม เมื่อโลกเริ่มมีสวัสดิการด้านอื่นๆ เกิดขึ้นตามมา

จากประกันสังคม สู่รัฐสวัสดิการที่ครอบคลุม

ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อประเทศเยอรมนีใช้ระบบประกันสังคมเป็นที่แรก ประเทศอื่นก็นำระบบสวัสดิการไปปรับใช้ เพราะเห็นความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตแรงงาน ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จากข้อมูลจะพบว่าเพียง 3 ปีหลังจากเยอรมันมีระบบประกันสังคมด้านสุขภาพ (Health) ประเทศอิตาลีก็นำระบบประกันสังคมไปใช้ในปี 1886 ตามมาด้วยประเทศออสเตรียในปี 1888 และกระจายไปทั่วทั้งโลก นอกจากระบบประกันสังคมด้านสุขภาพแล้ว ระบบบำนาญ (pensions) เงินประกันการว่างงาน (unemployment) เงินสงเคราะห์ครอบครัว (family allowances) ฯลฯ ที่ออกแบบมาเพื่อเป็นตาข่ายรองรับความปลอดภัยให้แก่แรงงาน ก็เริ่มมีหลายประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปริเริ่มและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
เจนนิเฟอร์ อนิสตัน แชร์ภาพหลุด เพื่อน ๆ เพื่อฉลองวันเกิด
มูลนิธิอนุรักษ์ช้างฯ ให้ยืมกรงขนย้าย พลายศักดิ์สุรินทร์ กลับไทย
ธนาคารกรุงศรี แต่งตั้ง เคนอิจิ ยามาโตะ ซีอีโอคนใหม่
หญิงวัย 44 ขับกระบะชนต้นคูณริมถนนในค่ายสุรสีห์ รถพังยับ
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://www.e-bizenyaki.net/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.the101.world